เชียงรายหนุนผู้ประกอบการ BCG สู่การเปลี่ยนแปลงระดับชาติ ยกระดับสถานประกอบการให้มีผลิตภาพการผลิตและลดต้นทุน
***เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 7 ก.พ.2567 ที่โรงแรมแสน อ.เมืองเชียงราย นางกฤษนันท์ ทะวิชัย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย เปิดการสัมมนา เรื่อง นโยบาย BCG ของประเทศไทยกับความท้าทายการเปลี่ยนแปลงในระดับนานาชาติ ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภูมิภาคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยกรอบแนวคิด BCG มีผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงรายเข้าร่วมสัมมนาจำนวนกว่า 40 กิจการ ในการนี้มีน.ส.นันทวรรณ กันคำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย ว่าที่ร.ต.ดุจเดี่ยว วงศ์ภักดิ์ เกษตรจังหวัดเชียงรายเชียงราย ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีการประชุมถ่ายทอดให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมได้โดยผ่านระบบ ZOOM ด้วย
***นางกฤษนันท์ ทะวิชัย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และเห็นชอบให้ BCG Economy Model เป็นวาระแห่งชาติที่จะใช้พัฒนาประเทศ โดยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์และสร้างการเติบโตบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุล สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ กับการเติบโตอย่างยั่งยืน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ( พ.ศ. 2566 – 2570 ) ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ โดยมีเป้าหมายไปสู่การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว มุ่งหมายพัฒนาให้การบริโภค และการผลิตของประเทศมีความยั่งยืนสูง ขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการเพิ่มมูลค่าจากเศรษฐกิจหมุนเวียนและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนให้มีการลงทุนด้านการใช้พลังงานสะอาด เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า และบริการตามแนวทางเศรษฐกิจ หมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อตอบสนองต่อการบังคับใช้กฎหมายเรื่องสิ่งแวดล้อม และการผลิตที่ยั่งยืนที่นานาชาติให้ความสำคัญ
***นางกฤษนันท์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมยังประสบปัญหาหลายประการ อาทิปัญหาด้านการผลิตที่ยังมีต้นทุนสูง ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาด และสามารถแข่งขันได้ในตลาดจะเป็นกลไกสำคัญ ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการธุรกิจแบบใหม่ เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบ ลดต้นทุน ลดของเสีย และเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น เพื่อยกระดับสถานประกอบการ ให้มีผลิตภาพการผลิตและลดต้นทุนการประกอบการอย่างคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบและความเสี่ยงจากการประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สังคมหรือวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วม ระหว่างชุมชนและโรงงาน SMEs ด้วยเศรษฐกิจ BCG อย่างสมดุลและยั่งยืน
***กระทรวงอุตสาหกรรมโดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย จึงได้จัดการสันมนาเรือง “นโยบาย BCG ของประเทศไทยกับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงในระดับนานาชาติ” ขึ้นในครั้งนี้ ซึ่งกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการหรือวิสาหกิจด้วยเศรษฐกิจ BCG ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภูมิภาคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยกรอบแนวคิด BCG เพื่อให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม SMEs มีการนำองค์ความรู้ และเทคโนโลยีภายใต้นโยบายเศรษฐกิจ BCG มาประยุกต์ใช้ในการยกระดับการผลิตที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และมีการใช้ทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจ BCG และเพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ตระหนักถึงความสำคัญของ BCG สู่การยกระดับกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ความยั่งยืนในการผลิตและบริโภค (Sustainable Production and Consumption) อีกทั้ง สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ อย่างมีส่วนร่วมระหว่าง สถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และชุมชน โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นสถานประกอบการหรือโรงงานอุตสาหกรรม ที่ประกอบกิจการในอุตสาหกรรม S – Curve หรือผู้ที่เกี่ยวข้องรวมถึงบุคลากรในสถานประกอบการ นางกฤษนันท์ กล่าว
ศูนย์ข่าวเชียงรายทูเดย์