19 กันยายน 2024

chiangraitodaynews

chiangraitodaynews

สสทน.เชียงรายร่วมเครือข่ายท่องเที่ยวทั่วประเทศ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่พื้นที่จังหวัดเชียงราย ประสบภัยกว่า 5 หมื่นครัวเรือนร้านค้ากว่า 90 แห่ง

***เมื่อวันที่ 13 ก.ย.2567 ที่ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย เทศบาลนครเชียงราย หน้าวัดดงหนองเป็ด ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย  สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ (สสทน.) จังหวัดเชียงราย ร่วมกับเทศบาลนครเชียงราย เปิดโรงทานทำอาหารกล่องจำนวนวันละ 300-500 กล่อง พร้อมน้ำดื่ม และเวชภัณฑ์ ยารักษาโรค แจกให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงราย โดยได้รับการสนับสนุนบริจาคทุนทรัพย์ วัตถุดิบในการปรุงอาหาร และของใช้จำเป็นต่างๆจาก ชมรม สมาคม ในเครือข่ายของ สสทน.เชียงราย สสทน.ภาคเหนือ 17 จังหวัด และเครือข่ายท่องเที่ยวจากทั่วประเทศ โดยมีนางอุบลรัตน์ พ่วงภิญโญ รองผวจ.เชียงราย และนางนงเยาว์ เนตรประสิทธิ์ นายกสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ  (สสทน.) จังหวัดเชียงราย ร่วมให้การต้อนรับและให้กำลังใจ  

***จังหวัดเชียงราย เกิดฝนตกหนักสะสมต่อเนื่อง เกิดอุกภัยและดินถล่ม ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 เป็นเหตุให้เกิดอุทกภัยและดินถล่มส่งผลกระทบตั้งแต่วันที่ 9 – 13 ก.ย. 2567 รวมทั้งสิ้น 6 อำเภอ 29 ตำบล 147 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (52 ชุมชน) โดยตลาดชุมชนเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบ 2 แห่ง ร้านค้า/สถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบเบื้องต้น 51,865 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 13,877 ไร่ เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 2 ราย

***กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. 67 -13 ก.ย. 67 ดังนี้ อ.เมืองเชียงราย ได้รับผลกระทบ 8 ตำบล 59 หมู่บ้าน 18 ชุมชน ในเขตเทศบาลนครเชียงราย ภาพรวมระดับน้ำได้ลดลงแล้วระดับหนึ่ง

***เขตเทศบาลนครเชียงราย พื้นที่ได้รับผลกระทบสะสม 52 ชุมชน (ปัจจุบันยังคงมีผลกระทบอยู่ 18 ชุมชน แนวโน้มระดับน้ำกกลดลง ยังท่วมขังสูงในบางชุมชน ชุมชนที่มีน้ำท่วมระดับน้ำสูงและเชี่ยวมาก (สีแดง) รถสูงขนาดใหญ่และเรือเข้าถึงพื้นที่ได้บางจุด – ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้เลย /รับแจ้งประชาชนยังติดค้างต้องการอพยพจำนวนมาก ขาดแคลนน้ำและอาหาร จำนวน 10 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนป่าแดง, ชุมชนน้ำลัด, ชุมชนเกาะลอย, ชุมชนฝั่งหมิ่น, ชุมชนร่องเสือเต้น, ชุมชนเกาะทอง, ,ชุมชนบ้านใหม่,ชุมชนแควหวาย, ชุมชนกกโท้ง และชุมชนทวีรัตน์ ส่วนชุมชนที่มีน้ำท่วมระดับน้ำสูงมาก (สีส้ม)  รับแจ้งประชาชนติดค้างต้องการอพยพจำนวนมาก ขาดแคลนน้ำและอาหาร จำนวน 8 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนฮ่องลี่, ชุมชนบ้านไร่, ชุมชนร่องปลาค้าว, ชุมชนเทิดพระเกียรติ, ชุมชนกองยาว, ชุมชนสันตาลเหลือง, ชุมชนรั้วเหล็กเหนือ, ชุมชนรั้วเหล็กใต้

***แจ้งปิดใช้สะพานเนื่องจากน้ำท่วมสูง จำนวน 5 จุด สัญจรได้  2 จุด งดสัญจรผ่าน 3 จุด จุดที่ 1 สะพานแม่ฟ้าหลวง (ศาลากลางจังหวัดเชียงราย) เปิดใช้งานทั้งสองเลนส์ รถเล็กงดสัญจรผ่าน คอสะพานบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยวัยที่ 3 ชุมชนน้ำลัด ขาด ผ่านไม่ได้ จุดที่ 2 สะพานขัวพญาเม็งราย (แยกบ้านใหม่ถึงแยกสถานีตำรวจภูธรเชียงราย) ระดับน้ำลดลง งดเว้นสัญจรผ่าน จุดที่ 3 สะพานข้ามแม่น้ำกก (แขวงทางหลวงเชียงรายที่ 1 ถึง 5 แยกพ่อขุนเม็งราย) ระดับน้ำลดลง รถเล็กงดสัญจรผ่าน จุดที่ 4 สะพานเฉลิมพระเกียรติ (เส้นทางสนามกีฬากลาง โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย) ระดับน้ำลดลง รถเล็กงดสัญจรผ่าน จุดที่ 5 สะพานใหม่บ้านหนองด่าน (ฮ่องอ้อ) จากแยกวัดห้วยปลากั้ง ไปทางโรงเรียนสามัคคี 2) เปิดใช้งานทั้งสองเลนส์ ยังคงมีตะกอนดินทราย โปรดใช้ความระมัดระวัง

***โรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงรายประกาศหยุดเรียนจนกว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เบื้องต้น 5 โรงเรียน ได้แก่ รร.เทศบาล 6 นครเชียงราย รร.เทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น รร.สามัคคีวิทยาคม รร.อนุบาลเชียงราย (สันต้นเปา) รร.อบจ.เชียงราย 

***การประปาส่วนภูมิภาคสาขาเชียงราย หยุดระบบการผลิตและระบบจ่ายน้ำในเขตอำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเวียงชัย ได้รับผลกระทบเต็มพื้นที่ ต.รอบเวียง หมู่ที่ 1 – 5 ลำน้ำกก ลำน้ำกรณ์ และลำน้ำลาว ระดับน้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และในพื้นที่ของหาดเชียงราย ต.ดอยฮาง หมู่ที่ 2,3,4,5,6 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่เกษตร บางหมู่บ้าน ถูกตัดขาด ต.แม่ยาว หมู่ที่ 1 -20 ลำน้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน เร่งอพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง /สะพานแขวนฮาแหล่จ่ะ (สะพานไม้) ขาด ไม่สามารถสัญจรได้ ต้องใช้อากาศยานขนส่งลำเลียงอาหารแจกจ่ายในบางพื้นที่ ต.ห้วยชมภู หมู่ที่ 1,4,5,6,10,11,16 น้ำป่าไหลหลากและดินสไลด์ปิดทับเส้นทาง ต.ริมกก หมู่ที่ 1-7  น้ำกกล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎร/ บ้านเมืองงิม ม.4 พนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ อบต.ริมกก ดำเนินการจัดทำแนวตลิ่งเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของราษฎรเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งอพยพคนออกจากพื้นที่น้ำท่วมสูง ต.บ้านดู่ ม. 1,10,12,15,16,17,20 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร ต.แม่ข้าวต้ม ม. 3,4 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร และต.นางแล ม. 1,4,5,6,11,16 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร

***อ.เชียงแสน จำนวน 5 ตำบล 24 หมู่บ้าน โรงเรียน 1 แห่ง พื้นที่เกษตร 13,877 ไร่ น้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่เกษตร และเกิดดินสไลด์ ในพื้นที่ ดังนี้ ต.เวียง ม.1 , 3 ,4 ,7 ,9 ดินสไลด์บ้านสบรวก ร้านค้า จำนวน 16 ร้าน ต.โยนก ม.1 ,3 ,4 ,6 ,7 ต.บ้านแซว ม.7 ,8 ,10 ,14 ต.ป่าสัก ม.1 ,2 ,7 ,11 ,12 ต.ศรีดอนมูล ม.3 ,5 ,9 ,10 ,13  ปิดเส้นทางสัญจร ดังนี้ ปิดเส้นทางสะพานโยกนกนาคนคร ม.1 และ ม.4 ต.โยนก เส้นบายพาส เนื่องจากแม่น้ำกกหนุนสูงท่วมปิดเส้นทางจึงไม่สามารถสัญจรได้ ปิดเส้นทางหมายเลข 1290 ตอนแม่สาย – กิ่วกาญจน์ ระหว่าง กม.20+000 – กม.20+500 บ้านเวียงแก้ว ม.5 ต.ศรีดอนมูล – บ้านวังลาว ม.4 ต.เวียง เนื่องจากแม่น้ำรวกล้นตลิ่งท่วมถนน รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้

***อ.เชียงของ จำนวน 2 ตำบล 1 หมู่บ้าน ต.เวียง หมู่ที่ 1 แม่น้ำโขงล้นตลิ่งหลากเข้าท่วมพื้นที่บริเวณท่าเรือบั๊ค บริเวณสวนสาธารณะปลาบึก 7 สี และบ้านเรือนราษฎรติดริมฝั่งโขง / ทต.เวียง อพยพประชาชนและขนย้ายทรัพย์สินขึ้นที่สูง เรียบร้อยแล้ว ต.ศรีดอนไชย น้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ได้รับผลกระทบ

***อ.แม่จัน แม่น้ำจัน-คำ หลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตรเป็นวงกว้าง ในพื้นที่ 7 ตำบล 15 หมู่บ้าน โรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 โรงเรียน/ สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

***อ.แม่ฟ้าหลวง จำนวน 4 ตำบล 12 หมู่บ้าน (เสียชีวิตจากดินสไลด์ สะสม 4 ราย) ถนนเสียหาย 2 จุด คอสะพาน 3 จุด โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน (ดินสไลด์ปิดเส้นทางเข้า-ออก) ต.แม่ฟ้าหลวง ม. 12,16,17

***ต.แม่สลองนอก ม.7 ต.แม่สลองใน ม.3,4,5,15 และต.เทอดไทย ม.6,7,15,16

***อ.แม่สาย น้ำท่วมพื้นที่ตลาดสายลมจอย และพื้นที่เศรษฐกิจ จำนวน 4 ตำบล 37 หมู่บ้าน (ชุมชนได้รับผลกระทบรุนแรง ได้แก่ ชุมชนแม่สาย ชุมชนเหมืองแดง ชุมชนเกาะทราย ชุมชนไม้ลุงขน) จำนวน 4 ตำบล โรงเรียนได้รับผลกระทบ 8 โรงเรียน / สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ยังคงมีน้ำท่วมขังสูงในบางพื้นที่ ต. แม่สาย ม.2,3,6,7,8,10 สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ยังคงมีน้ำท่วมขังสูงในบางพื้นที่ ต.เวียงพางคำ ม.1-10 สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ยังคงมีน้ำท่วมขังสูงในบางพื้นที่ ต.เกาะช้าง  ม. 1-13 ยังคงมีน้ำหลากท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร และต.ศรีเมืองชุม ม.1-8 ยังคงมีน้ำหลากท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตร

***ด้านการให้ความช่วยเหลือ กองทัพเรือสนับสนุนเรือและยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเร่งดำเนินการติดตั้งเคลื่อนย้ายเรือผลักดันน้ำ JET จำนวน 10 ลำ ยกจากเครนวางตามแนวลำน้ำอิง ประสิทธิภาพการไหลได้ วันละ 1 ล้านลูกบาก์เมตร เริ่มดันน้ำได้วันที่11 ก.ย.67 เวลา15.00 น. ณ สะพานข้ามแม่น้ำอิง อ.เทิง จ.เชียงราย สภากาชาดไทย สนับสนุนครัวสนามเคลื่อนที่ 1 คัน จุดตั้งโรงครัว ณ วัดพระสิงห์ ถ.ท่าหลวง ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ประกอบเลี้ยงตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. 67 มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ตั้งครัวพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และ อบจ.เชียงราย สนับสนุนรถครัวประกอบเลี้ยงอาหาร ณ จุดเดียวกัน บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ตะเคียนคู่) ต.สันทราย อ.เมืองเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย. 67

***กองทัพเรือ/หน่วยซีล สนับสนุน เรือ 9 ลำ รถบรรทุก 4 คัน ถุงยังชีพ 1,000 ชุด (ของ 918 150 ชุด) กำลังพล 50 นาย ฮ.ปภ.32 สนับสนุนภารกิจขนย้ายผู้ประสบภัย ลำเลียงน้ำและอาหารส่งมอบให้แก่ผู้ประสบภัย/ลำเลียงผู้ป่วยและหญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอด พื้นที่อำเภอแม่สายและอ.เมืองเชียงราย ฮ.กรมฝนหลวงและการบินเกษตร/ฮ.ทอ.ปฏิบัติภารกิจลำเลียงผู้ประสบภัย ลำเลียงน้ำและอาหาร ลำเลียงผู้ป่วย พื้นที่อำเภอแม่สายและอำเภอเมืองเชียงราย

***นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานต่างๆระดมกำลังหึ้วามช่วยเหลือประชาชน ได้แก่ ศูนย์ ปภ.เขต 15 เชียงราย /เขต 1 ปทุมธานี/ เขต 2 สุพรรณบุรี /เขต 3 ปราจีนบุรี/ เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์/ เขต 8 กำแพงเพชร /เขต 9 พิษณุโลก /เขต 11 สุราษฎร์ธานี และเขต 16 ชัยนาท สนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัยด้านปฏิบัติการ (อุทกภัย) และกำลังพล เทศบาลนครเชียงราย จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทน.เชียงราย จำนวน 8 จุด (ยังเปิดอยู่ ณ ปัจจุบัน 5 จุด) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงราย (พืชสวน) รองรับได้ 100 คน (เตียง 2 ชั้น ห้องน้ำรวม) ที่จอดรถชั่วคราว 200 คัน ศูนย์พักพิง อ.แม่สาย 20 แห่ง (ภาครัฐ/วัด 19 แห่ง/ โรงแรมศิลามณี รีสอร์ท 1 แห่ง) นพค.31 /นพค.32/นพค.34 สนับสนุนกำลังพล รถครัวสนาม และรถสุขาเคลื่อนที่

***ทั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าให้ความช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน จนวันที่13 กันยายน 2567 ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่ อ.เมืองเชียงราย, อ.เชียงแสน, อ.เชียงของ, อ.แม่จัน, อ.แม่ฟ้าหลวงและอ.แม่สาย เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ช่วยโมง ที่สายด่วน 1784

ขอบคุณข้อมูลผลกระทบจาก สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย

///ศูนย์ข่าวเชียงรายทูเดย์

Loading