ศาลแขวงจังหวัดเชียงรายจัดบูรณาการร่วมทุกหน่วยงาน บันทึกข้อตกลงบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดคืนคนดีสู่สังคม ผู้เสพต้องการบำบัดหายแล้วไม่มีคดีส่งเสริมอาชีพมีงานทำ
***เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 6 ธันวาคม 2567 ที่ห้องประชุมชั้น 3 อาคารศาลแขวงเชียงราย อ.เมืองเชียงราย นายกสิชล ว่องไวชล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงเชียงราย เปิดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) โครงการประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยมีนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผวจ.เชียงราย นายบัญชา เพชรปรางค์ อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงเชียงราย พล.ต.ต.มานพ เสนากูล ผบก.ภ.เชียงราย นพ.วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย นางทรงศรี คมขำ รองนายกอบจ.เชียงราย นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย นายมนัส สุวรรณรินทร์ ท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย พร้อมผู้ทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) โครงการประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
***ทั้งนี้การลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างศาลแขวงเชียงรายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการขับเคลื่อน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย โดยนายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงเชียงราย ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย ท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย (อปท.) เทศบาลนครเชียงราย สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงราย และสภาทนายความเชียงราย เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในกระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด โดยมุ่งเน้นให้การดำเนินงานเป็นไปตามประมวลกฎหมายยาเสพติด กฎระเบียบ และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังช่วยกำหนดแนวปฏิบัติร่วมกันในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การส่งตัวจำเลยเข้ารับการบำบัดในระหว่างพิจารณาคดีไปจนถึงหลังศาลมีคำพิพากษา และเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
***นายกสิชล ว่องไวชล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงเชียงราย กล่าวว่า ตามประมวลกฎหมายยาเสพติดระบุให้มีการบำบัด 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนก่อนพบการกระทำความผิด ขั้นตอนที่มีการจับกุมแล้ว และขั้นตอนที่มีการฟ้องต่อศาล ผู้เสพยาเสพติดสามารถที่จะไปบำบัดรักษาได้ หน่วยงานที่ร่วม MOU ก็จะมีบริบทในการช่วยเหลือในขั้นตอนของแต่ละหน่วยงาน ในขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อมีการจับกุมก็จะสอบถามให้โอกาสในการบำบัดของผู้ต้องหาว่าต้องการบำบัดรักษาหรือไม่ จนถึงขั้นตอนศาลก็จะสอบถามผู้ต้องหาว่าต้องการบำบัดรักษาหรืออีกชั้นหนึ่ง ถ้าผู้ต้องหามีความต้องการก็จะส่งตัวให้สาธารณสุขจังหวัดนำตัวไปบำบัดรักษา สำนักงานคุมประพฤติก็ควบคุมดูแลร่วมกับทุกหน่วยงานเพื่อให้ผู้บำบัดได้รับการบำบัดจนหาย ตามประมวลกฎหมายยาเสพติได้กำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมในกรณีที่ผู้ป่วยได้บำบัดรักษาหายแล้วเพื่อดูแลให้การศึกษา ฝึกอาชีพ ซึ่งทางจังหวัดเชียงรายได้มีการตั้งศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมแล้ว เพื่อให้กลับไปมีชีวิตในสังคมได้ต่อไป
***ฝากถึง พ่อ แม่ ญาติพี่น้องของผู้ที่ติดยาเสพติดได้บอกกล่าวกับลูกหลานคนที่รักให้สมัครใจมารับการบำบัดรักษากับหน่วยงานที่บำบัดรักษาดังกล่าวเที่โรงพยาบาลของรัฐทุกโรงพยาบาล หรือที่สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ถ้ายังไม่มีการจับกุม เมื่อรักษาตัวหายและรับการรับรองจากหน่วยงานว่าหายแล้วจะถือว่าไม่มีความผิดในข้อหาเสพยาเสพติด หรือหากถูกจับดำเนิคดีแค่ประสงค์บำบัดรักษาเมื่อหายแล้วได้รับการรับรองจากโรงพยาบาลที่รักษาแล้วก็ถือว่าไม่มีความผิดทางคดีด้วยเช่นกัน หรืออยู่ในขั้นตอนของศาลพิจารณาดำเนินคดี แต่ผู้ต้องหาประส่งค์บำบัดอล้วได้รับการรับรองจากสถานรักษาว่าหายดีแล้ว ก็จะไม่มีการดำเนินคดีต่อไปอีก และจะไม่มีประวัติของการเสพยาด้วย เป็นการคืนคนดีสู่สังคน
***นายแพทย์วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนากระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่เชียงราย โดยเป็นการผสานศักยภาพของหน่วยงานทุกภาคส่วนเพื่อสร้างระบบการบำบัดที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งลดปัญหายาเสพติดในพื้นที่อย่างยั่งยืน
///ศูนย์ข่าวเชียงรายทูเดย์