18 ธันวาคม 2024

chiangraitodaynews

chiangraitodaynews

รพ.เชียงรายเปิดศูนย์รังสีร่วมรักษาวินิจฉัยโรคทางสมอง ตรวจรักษาเส้นเลือดสมองตีบ-แตก เริ่มบริการ ม.ค.2568

ดร.นพ.สราวุฒิ บุญสุข
ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1

***เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 17 ธันวาคม 2567 ที่ห้องประชุมเสม พริ้งพวงแก้ว โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ อ.เมืองเชียงราย นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยนางสินีนาฏ ทองสุข นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย นพ.วัชรพงษ์ คำหล้า นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ร่วมพิธีเปิดศูนย์รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยเมตตาพระราชวชิรคณี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย นำคณะสงฆ์จำนวน 9 รูป สวดเจริญพระพุทธมนต์ มีดร.นพ.สราวุฒิ บุญสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1 กล่าวรายงาน พญ.อัจฉรา ละอองนวลพาณิชย์ ให้ต้อนรับผ็ร่วมพิธีและนำชมศูนย์รังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

***ดร.นพ.สราวุฒิ บุญสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1 กล่าวว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความพิการและมีอัตราการเสียชีวิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และทันท่วงที ซึ่งปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐานและทันสมัยที่สุด คือการใส่สายสวนหลอดเลือดเพื่อดูดลากลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลัน การรักษาด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์               ที่ทันสมัยด้วยเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดระบบดิจิตอล (Biplane Digital Subtraction Angiography) ซึ่งที่ผ่านมาเครื่องมือดังกล่าวยังไม่มีใช้ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จึงมีความต้องการที่จะจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวเพื่อทลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหลอดเลือด ซึ่งมีราคาสูงประมาณ 40,000,000.00 บาท (สี่สิบล้านบาท) ทำให้ขาดทุนทรัพย์ในการจัดซื้อ

***ชมรมผู้เกษียณอายุราชการ โรงพยาบาลศูนย์/สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย จึงมีมติให้จัดหาและสมทบทุน เพื่อซื้อเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดระบบดิจิตอล โดยได้เข้ากราบนมัสการ พระไพศาลประชาทร วิ. (พระอาจารย์พบโชค ติสสวังโส) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง เพื่อนำเรียนโครงการ ซึ่งท่านได้เมตตาให้การสนับสนุนช่วยเหลือการดำเนินการ โดยสามารถจัดหารายได้เป็นเงิน 7,498,313.00 บาท (เจ็ดล้านสี่แสนเก้าหมื่นแปดพันสามร้อยสามสิบสามบาทถ้วน) ซึ่งยังไม่เพียงพอที่จะจัดซื้อได้

***ต่อมานายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในขณะนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดหาเครื่องมือแพทย์ จึงได้หารือร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายและส่วนราชการ มีมติให้มีการระดมทุนทั่วทั้งจังหวัดโดยคนเชียงราย เพื่อคนเชียงราย จัดตั้งกองทุนผ้าป่าจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด ระบบดิจิตอล มอบให้โรงพยาบาลฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” โดยเริ่มดำเนินการโครงการ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 – 26 กรกฎาคม 2567 รวมยอดเงินบริจาคทั้งสิ้นจำนวน 55,918,639.00 บาท (ห้าสิบห้าล้านเก้าแสนหนึ่งหมื่นแปดพันหกร้อยสามสิบเก้าบาทถ้วน) และจัดให้มีพิธีถวายผ้าป่าฯ มอบให้โรงพยาบาลเชียงรายฯ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ GMS

***ซึ่งในการนี้โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ได้ดำเนินการจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดระบบดิจิตอล อีกทั้งจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ขาดแคลนจากยอดเงินระดมทุน และพร้อมที่จะให้บริการแก่ประชาชนชาวเชียงราย และบุคคลทั่วไปใน ดร.นพ.สราวุฒิ บุญสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1 กล่าว

***นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีที่ประชาชนชาวเชียงรายที่จะมีเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดระบบดิจิตอลไว้บรืการผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับหลอดเลือดที่โรงพยาบาลเชียงรายแระชานุเคราะห์  และยังสามารถจัดหาเครื่องมือแพทย์อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอีกด้วย ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการรักษาอาการเจ็บป่วยไม่ว่าจะเป็นโรคใด ช่วยให้คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้นไป

นายชรินทร์ ทองสุข
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
น.พ.บัณฑิต ศรีเลิศ
อายุรแพทย์ประสาทวิทยา โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

***น.พ.บัณฑิต ศรีเลิศ อายุรแพทย์ประสาทวิทยา โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ กล่าวว่า  เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดระบบดิจิตอล (Biplane Digital Subtraction Angiography) เป็นเครื่องที่สามารถวินัจฉัยโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะสามารพเปิดบริการได้ประมาณต้นเดือนมกราคม 2568 มีมูลค่ากว่า 40 ล้านบาท ได้รับจากเงินงบประมาณและการบริจาคจากคณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย ประชาชน ข้าราชการ และหน่วยงานต่างๆ ช่วยงินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเส้นเลือดสมองตีบ และเส้นเลือดสมองแตก เพื่อลดแรพิการและการเสียชีวิตของผู้ป่วย ก่อนหน้านี้ที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ยังไม่มีเครื่องนี้ ต้องไปอาศัยใช้เครื่องของโรงพยาบาลอื่น เช่น โรงพยาบาลโอเวอร์บรู๊ค ปัจจุบันเมื่อมีเครื่องนี้มาใช้แล้ว ผู้ป่วยที่มีอาการทางสมอง อ่อนแรง ชาครึ่งซีก ก็สามารถมาใช้เครื่องนี้เพื่อการวินิจฉัยรักษาได้อย่างทันท่วงที

///ศูนย์ข่าวเชียงรายทูเดย์   

Loading