23 พฤศจิกายน 2024

chiangraitodaynews

chiangraitodaynews

“สาธารณสุข” รณรงค์เชียงรายนำร่องหยุดวัณโรคภายในปี 2575 ยืนยัน “วัณโรค” หายขาดได้ เข้าใจผู้ป่วยไม่ทำให้ติดต่อร้ายแรง

***เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 28 ส.ค.2562 ที่โรงแรมเวียงอินทร์ อ.เมืองเชียงราย นายภาสกร บุญญลักษม์ รองผวจ.เชียงราย น.พ.ทศเทพ บุญทอง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ร่วมแถลงข่าว การรณรงค์ยุติวัณโรค (End TB) จังหวัดเชียงราย ซึ่งนักวิจัยได้นำสมมติฐานแห่งการมีส่วนร่วม เช่นเดียวกับกรณีที่หลายภาคส่วนมีความมุ่งมั่นในการให้ความช่วยทีมนักฟุตบอลเยาวชนหมูป่าอคาเดมีออกมาได้อย่างปลอดภัยเป็นผลสำเร็จ ซึ่งการร่วมมือร่วมใจลักษระดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นกับการรณรงค์ให้วัณโรคหมดไปภายในปี 2575 พร้อมกับการเฉลิมฉลองเมืองเชียงรายครบรอบ 770 ปี โดยมีการบรรยายพิเศษจาก ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ และการเสวนาหัวข้อ “บอกลาวัณโรค อย่างเท่ๆ” โดย ดร.จินตนา งามวิทยาพงศ์-ยาไน นักวิจัยวัณโรคสามทศวรรษ พ.ญ.ผลิน กมลวัทน์ ผอ.กองวัณโรค กระทรวงสาธารณสุข น.พ.พิษณุ ขันติพงษ์ อดีตสูติแพทย์โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และผอ.โรงพยาบาลจังหวัดน่าน พ.ญ.วรรัตน์ อิ่มสงวน แพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยวัณโรคในเชียงราย และ นางกรองทอง วงค์สารภี อาสาสมัครดูแลผู้ป่วยวัณโรค

ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ศิลปินแห่งชาติ
นายภาสกร บุญญลักษม์
รองผวจ.เชียงราย
น.พ.ทศเทพ บุญทอง
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

***จังหวัดเชียงรายมีอัตราการเสียชีวิตจากวัณโรคสูงเป็นลำดับต้นๆของประเทศ ในปีพ.ศ.2560 เชียงรายมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่จำนวน 1,642 คน เสียชีวิต 232 คน เฉลี่ยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่วันละ 4.5 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากวัณโรคทุกๆ 37 ชั่วโมง  ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยวัณโรคในเชียงราย เป็นผู้ป่วยในเขตเทศบาลนครเชียงรายและอำเภอเมือง ซึ่งจำนวนผู้ป่วยที่แท้จริงคาดว่าต้องมีมากกว่านี้

***จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ปีพ.ศ. 2561 ระบุว่า ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีความรุนแรงเกี่ยวกับวัณโรค 3 ด้าน ได้แก่ จำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่มีเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อร่วมกับเอชไอวี และเป็นผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานจำนวนมาก และองค์การอนามัยโลก รายงานในปี 2561 ว่า ประชากรโลกมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่มากกว่า 10 ล้านคน เสียชีวิตแล้วกว่า 1.6 ล้านคน ในประเทศกลุ่มอาเซียนจำนวน 6 ประเทศ มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคจำนวนมากเป็นอันดับที่ 22 จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เมียนมา อินโดนีเซีย และไทย

ดร.จินตนา งามวิทยาพงศ์-ยาไน
นักวิจัยวัณโรคสามทศวรรษ
น.พ.พิษณุ ขันติพงษ์
อดีตสูติแพทย์โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
อดีตผอ.โรงพยาบาลจังหวัดน่าน

***ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดโครงการ End TB ที่มีเป้าหมายและพันธะสัญญาประชาคมโลกร่วมกันที่จะยุติปัญหาที่เกิดจากวัณโรคให้สิ้นสุดลงในปี 2578 ซึ่งประเทศไทยตั้งเป้ายุติปัญหาวัณโรคในปี 2575 ที่จังหวัดเชียงรายเป็นแห่งแรกของประเทศ

***นายภาสกร กล่าวว่า เดิมทีคนเข้าใจว่าวัณโรคเป็นโรคร้ายแรง ติดต่อได้ง่ายและเร็ว เป็นแล้วจะทำให้เสียชีวิต ซึ่งโดยข้อเท็จจริง วัณโรคเป็นโรคติดต่อธรรมดา ที่สามารถติดต่อได้ทางระบบทางเดินหายใจ เป็นแล้วรักษาให้หายขาดได้ ไม่ได้ทำให้เสียชีวิตจากโรคโดยตรง แต่มักเสียชีวิตกับโรคแทรกซ้อน เหตุที่คนสมัยก่อนตั้งข้อรังเกียจคนเป็นวัณโรค เพราะขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่เจริญ ซึ่งหน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน ต้องให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องเพื่อให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักในการป้องกันและดูแลผู้ป่วยวัณโรคอย่างถูกวิธี เพื่อทำให้วัณโรคหมดไปจากเชียงรายและประเทศไทยภายในปี 2575 ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้

***ดร.จินตนา กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้วัณโรคยังไม่หายไปทั้งที่มีการรณรงค์มามากว่า 100 ปี เพราะมีการตั้งข้อรังเกียจผู้ป่วยวัณโรคว่าติดเชื้อได้ง่าย เป็นโรคเรื้อรังโดยที่รักษาไม่หาย ซึ่งต้องมีการปรับทัศนคติให้ข้อมูลที่ถูกต้องกันใหม่ ให้สังคมเข้าใจในวิธีปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ไม่ใช่โรคที่น่ากลัว และตัวผู้ป่วยเองต้องกล้าเปิดเผยตัวเพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

***ด้านน.พ.พิษณุ กล่าวว่า ผู้ที่ไม่เป็นโรคนี้ควรเอาใจเขามาใส่ใจเราเพื่อให้กำลังใจผู้ป่วย และผู้ป่วยต้องกล้าเปิดเผยตัวเพื่อการรักษาที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง โดยข้อเท็จผู้ป่วยวัณโรคหลังกินยาแล้ว 2 สัปดาห์จะไม่สามารถแพร่เชื้อได้อีก และเมื่อกินยาครบ 8 สัปดาห์โรคจะหายขาด สิ่งสำคัญคือต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากสังคมเข้าใจผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยก็จะดูแลตัวเองจนหายขาดได้ ทำให้จำนวนผู้ป่วยวัณโรคลดลงตามไปด้วย การแพร่เชื้อติดต่อก็จะลดลงด้วย

/// ศูนย์ข่าวเชียงรายทูเดย์

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *